เทศบาลตำบลศรีถ้อย ส่วนที่ 1
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของ
เทศบาลตำบลศรีถ้อย
----------------------------------
เทศบาลตำบลศรีถ้อย ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบล มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 และ มาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2546 ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2555
1. ด้านกายภาพ
1.1 ที่ตั้ง
เทศบาลตำบลศรีถ้อย ตั้งอยู่เลขที่ 245 หมู่ที่ 9 บ้านสันติสุข ต.ศรีถ้อย อ.แม่ใจ จ.พะเยา อยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอแม่ใจ ห่างจากตัวอำเภอแม่ใจประมาณ 700 เมตร
1.2 ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบติดเชิงเขา บางส่วนเป็นภูเขาสูงมีเทือกเขาผีปันน้ำอยู่ทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นต้นกำเนิดแหล่งน้ำธรรมชาติ 1 สาย คือ ลำน้ำแม่ใจ มีพื้นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำนาและมีพื้นที่ราบติดเชิงเขาเหมาะแก่การทำสวนลิ้นจี่
1.3 ลักษณะภูมออากาศ มี 3 ฤดู ( ร้อน, ฝน, หนาว )
1.4 ลักษณะของดิน ดินร่วน ซุย
ลักษณะของแหล่งน้ำ ตามเขื่อนกั้นน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง
ลักษณะของป่าไม้ ป่าเบญจพรรณ
2. ด้านการเมืองการปกครอง
2.1 เขตการปกครอง
- ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลเจริญราษฎร์ อ.แม่ใจ จ.พะเยา
- ทิศใต้ ติดกับ ตำบลแม่สุกและตำบลแม่ใจ อ.แม่ใจ จ.พะเยา
- ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลบ้านเหล่าและ ตำบลแม่ใจ อ.แม่ใจ จ.พะเยา
- ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลวังแก้ว อ.วังเหนือ จ.ลำปาง
เนื้อที่ เทศบาลตำบลศรีถ้อยมีเนื้อที่ทั้งหมด 61.24 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 38,274 ไร่
2.2 การเลือกตั้ง การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง คือ ระบบการปกครองท้องถิ่นที่เปิดโอกาสให้ ประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ สามารถเลือกตั้งผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน เขตท้องถิ่นของตนได้โดยตรง
การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
1. ผู้บริหารท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งของประชาชนในท้องถิ่นโดยตรง
2. ฝ่ายบริหารท้องถิ่น กับ ฝ่ายสภาท้องถิ่น แบ่งแยกออกจากกันอย่างชัดเจน กล่าวคือ ผู้บริหารท้องถิ่นไม่มีอำนาจในการยุบสภาท้องถิ่น และสภาท้องถิ่นไม่มีอำนาจในการลงมติไม่ไว้วางใจผู้บริหารท้องถิ่น
3. ผู้บริหารท้องถิ่นมีวาระในการดำรงตำแหน่งที่แน่นอนชัดเจน และไม่ขึ้นอยู่กับวาระของสภาท้องถิ่น
4. คณะผู้บริหารท้องถิ่น (นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี เลขานุการนายกเทศมนตรี) จะเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นด้วยมิได้
3. ประชากร
จำนวนหมู่บ้าน
ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ มีทั้งหมด 11 หมู่บ้าน คือ
หมู่บ้านในเขต ทต. เต็มพื้นที่ทั้งหมู่บ้านมี 7 หมู่บ้าน
หมู่ที่ 5 - บ้านป่าสัก
หมู่ที่ 6 - บ้านทุ่งป่าข่า
หมู่ที่ 8 - บ้านท่าต้นหาด
หมู่ที่ 9 - บ้านสันติสุข
หมู่ที่ 10 - บ้านผาแดง
หมู่ที่ 12 - บ้านป่าสักสามัคคี
หมู่ที่ 13 - บ้านปางปูเลาะ
หมู่บ้านในเขต ทต. มีพื้นที่บางส่วน มี 4 หมู่บ้าน
หมู่ที่ 1 - บ้านต้นแก
หมู่ที่ 4 - บ้านแม่ใจหางบ้าน
หมู่ที่ 7 - บ้านขัวตาด
หมู่ที่ 11 - บ้านต้นผึ้ง
ท้องถิ่นอื่นในตำบล
จำนวนเทศบาล 1 แห่ง คือ เทศบาลตำบลแม่ใจ
ที่มา สำนักงานทะเบียนอำเภอแม่ใจ ข้อมูล เดือน มกราคม พ.ศ.2562
4.สภาพทางสังคม
การศึกษา
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง (หมู่ 9)
- โรงเรียนประถมศึกษา (ขยายโอกาส 2 แห่ง) 4 แห่ง (หมู่ 1, 6, 8, 12)
- โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง (หมู่ 9)
- ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 10 แห่ง (หมู่1, 5, 6, 7, 8, 9,
5. ระบบบริการพื้นฐาน
5.1การคมนาคม
สภาพทางคมนาคมที่ใช้ติดต่อกับอำเภอและตำบลอื่นๆลาดยางแล้วทั้งหมด ส่วนถนน
ภายในหมู่บ้านยังมีบางส่วนที่ต้องปรับปรุงให้ได้มาตรฐานต่อไป ดังนี้
- ถนนลาดยางเชื่อมจังหวัด 1 สาย
- ถนนลาดยางเชื่อมอำเภอ 1 สาย
- ถนนลาดยางเชื่อมระหว่างตำบล 4 สาย
- ถนนลาดยางเชื่อมระหว่างหมู่บ้าน 1 สาย
- ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก (คสล)ในตำบล 58 สาย
- ถนนลูกรังในตำบล 17 สาย
- ถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่(คสม)ในตำบล 2 สาย
- ถนนหินคลุก 39 สาย
5.2 การไฟฟ้า
ในเขตพื้นที่รับผิดชอบเทศบาลตำบลศรีถ้อยมีไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจำนวน 10 หมู่บ้าน และหมู่บ้านที่ใช้พลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์จำนวน 1 หมู่บ้าน คือบ้านผาแดง หมู่ที่ 10 เป็นหมู่บ้านชาวไทยภูเขาเผ่าเย้า
5.3 การโทรคมนาคม
- ตู้โทรศัพท์สาธารณะ 10 แห่ง (หมู่ 1,5 – 9 ,11 -12)
- ตู้ไปรษณีย์ 3 แห่ง
6.ระบบเศรษฐกิจ
อาชีพ
เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบติดเชิงเขา ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำการเกษตร เช่น ทำสวน ทำนา ในบริเวณที่ราบบริเวณเชิงเขาจะทำสวนลิ้นจี่ เป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีประชาชนบางกลุ่มทำงานรับราชการ บริษัท ค้าขาย และรับจ้างทั่วไป
หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลศรีถ้อย
- ปั๊มน้ำมันและก๊าซ 3 แห่ง (หมู่ 7,11, 9)
- โรงสี,โรงเก็บข้าว 6 แห่ง (หมู่ 6, 7 ,9 ,12)
- ร้านอาหาร 3 แห่ง (หมู่ 1,9)
- ตลาดสด 1 แห่ง (หมู่ 6)
- ร้านซ่อมรถ 10 แห่ง (หมู่1 ,7, 9)
- ร้านขายของชำ 21 แห่ง (หมู่ 1,5,6,7,8,12)
- ร้านทำกระจก 2 แห่ง (หมู่ 1,11)
- โรงรับซื้อลิ้นจี่ 6 แห่ง ( หมู่ 6,8,12)
- ร้านขาย-รับซื้อของเก่า 2 แห่ง (หมู่ 1,9 )
- ร้านทำกระดาษ 2 แห่ง (หมู่ 8 )
- ร้านรับซื้อข้าว 1 แห่ง (หมู่ 12)
- ร้านขายรถมือสอง 1 แห่ง ( หมู่ 9)
- ร้านอ๊อกเชื่อม+กลึง 2 แห่ง ( หมู่ 9)
- ล้างอัดฉีด 1 แห่ง ( หมู่ 9)
- ร้านบริการจานดาวเทียม 1 แห่ง ( หมู่ 6)
- ร้านบริการเงินด่วน 4 แห่ง ( หมู่ 1 ,9 )
- ร้านขายอะไหล่ 2 แห่ง ( หมู่ 7,1)
- ตรวจสภาพรถ 1 แห่ง ( หมู่ 1)
- ร้านบริการอินเตอร์เน็ต 1 แห่ง ( หมู่ 6 )
- ร้านขายปุ๋ย+ยา 3 แห่ง ( หมู่ 5 ,6,12)
- ร้านเสริมสวย 1 แห่ง ( หมู่ 12)
- โรงบ่มใบยา 1 แห่ง ( หมู่ 11)
- ร้านซ่อมคอมพิวเตอร์ 1 แห่ง ( หมู่ 12)
- ร้านขายวัสดุก่อสร้าง 2 แห่ง ( หมู่ 1)
- ร้านทำป้าย 1 แห่ง ( หมู่ 1,10,11, 12 และ13)
7.ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
องค์กรทางศาสนา (วัด 2 แห่ง หมู่ที่ 5,6)
7.1 การนับถือศาสนา ร้อยละ 95% นับถือศาสนาพุธ
7.2 ประเพณีและงานประจำปี งานรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ การเลี้ยงผีฝาย งานบวงสรวงเจ้าหลวงคำแดง ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา ฯลฯ
7.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น การผลิตน้ำปู การทำไม้กวาด ฯลฯ
7.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก ลิ้นจี่ มะพร้าวเผา ฯลฯ
8.ทรัพยากรธรรมชาติ
8.1 น้ำ
ในเขตเทศบาลตำบลศรีถ้อยมีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ ลำน้ำแม่ใจ และแหล่งน้ำที่ได้จัดสร้างขึ้น คือ อ่างเก็บน้ำห้วยชมภู
- แม่น้ำ , ลำห้วย 3 สาย (ห้วยแม่ใจ,ห้วยลึก,ห้วยแล้ง)
- หนองน้ำ , สระ 5 แห่ง (ห้วยน้ำแหลว,โล๊ะป่าตอง,โล๊ะผักก้านห้วยเคียน,สระ ทต.)
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- อ่างเก็บน้ำ 1 แห่ง (หมู่ 8) (ห้วยชมภู)
- ฝาย 17 แห่ง (หมู่..1,5,6,7,8,9,12)
- บ่อน้ำตื้น 282 แห่ง (หมู่1,6,8,9,11,13.)
- บ่อน้ำบาดาล 5 แห่ง (หมู่ 6,9,11,12)
- ประปาส่วนภูมิภาค 1 แห่ง (หมู่ 1,4,7,9,11)
8.2 ป่าไม้
- ป่าเขตอุทยานแห่งชาติดอยหลวงในพื้นที่ หมู่ที่ 8, 10 , 13
8.3 ภูเขา
8.4 ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
1. ทรัพยากรป่าไม้ : ในเขตเทศบาลตำบลศรีถ้อย
- ป่าเขตอุทยานแห่งชาติดอยหลวงในพื้นที่ หมู่ที่ 8, 10 , 13
2. ทรัพยากรน้ำ :ในเขตเทศบาลตำบลศรีถ้อยมีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ ลำน้ำแม่ใจ และแหล่งน้ำที่ได้จัดสร้างขึ้น คือ อ่างเก็บน้ำห้วยชมภู
3. ถ้ำ
- ถ้ำประกายเพชรเป็นถ้ำหินงอกหินย้อย ในเขตพื้นที่หมู่ที่ 13
9. อื่น ๆ
มวลชนจัดตั้ง
- อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน(อปพร) จำนวน 85 คน
- อาสาสมัครปศุสัตว์ประจำหมู่บ้าน (อปม) จำนวน 11 หมู่บ้าน
- อาสาสมัครพัฒนาสังคม (อพม) จำนวน 11 หมู่บ้าน
- อาสาสมัครป้องกันปราบปรามยาเสพติด จำนวน 11 หมู่บ้าน
- อาสาสมัครกู้ชีพกู้ภัย จำนวน 10 คน
- อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 11 หมู่บ้าน
- คณะกรรมการพัฒนาสตรี จำนวน 11 หมู่บ้าน
- กลุ่มออมทรัพย์ประจำหมู่บ้าน จำนวน 11 หมู่บ้าน
- กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน จำนวน 11 หมู่บ้าน
- กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน 11 หมู่บ้าน
- กลุ่มเยาวชน จำนวน 11 หมู่บ้าน
ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่
1. การรวมกลุ่มของประชาชน
หมู่ที่1 - กลุ่มทำนา 22 คน
หมู่ที่5 - กลุ่มข้าวชุมชน 52 คน
- กลุ่มทำสวนตำบลศรีถ้อย 133 คน
- กลุ่มทำปุ๋ยหมักชีวภาพ 30 คน
หมู่ที่6 - กลุ่มไม้กวาดดอกหญ้า 41 คน
- กลุ่มปุ๋ยหมักเกษตรพัฒนา 27 คน
- กลุ่มทำปุ๋ยหมักชีวภาพ 59 คน
- กลุ่มเมล็ดพันธ์ข้าว 30 คน
- กลุ่มจักสานผู้สูงอายุ 25 คน
หมู่ที่7 - กลุ่มออมทรัพย์สามัคคี 21 คน
- กลุ่มเกษตรผู้ผลิต 112 คน
- กลุ่มเกษตรทำไร่ศรีถ้อย 100 คน
หมู่ที่8 - กลุ่มเพาะเห็ด 22 คน
หมู่ที่9 - กลุ่มเกษตรทำนาตำบลศรีถ้อย 30 คน
- กลุ่มทำน้ำหมักปุ๋ยชีวภาพ 40 คน
หมู่ที่10 - กลุ่มปักผ้า 20 คน
- กลุ่มแปรรูปหน่อไม้ 44 คน
หมู่ที่11 - กลุ่มกองทุนปุ๋ยอินทรีย์ 49 คน
- กลุ่มผลิตน้ำปูบ้านต้นผึ้ง 25 คน
- กลุ่มเลี้ยงโคบ้านต้นผึ้ง 28 คน
หมู่ที่12 - กลุ่มปุ๋ยหมักชีวภาพ 63 คน
- กลุ่มเกษตรทำนารวงทอง 23 คน
หมู่ที่13 - กลุ่มผ้าปักมือ 31 คน
จุดเด่นของเทศบาลตำบลศรีถ้อย
1. สวนผลไม้ลิ้นจี่ ตำบลศรีถ้อย มีพื้นที่ปลูกลิ้นจี่ 6,702 ไร่ ลักษณะเด่นของลิ้นจีตำบลศรีถ้อยมีรสหวานฉ่ำ ปัจจุบันตำบลศรีถ้อย เป็นจุดรับซื้อลิ้นจี่ที่สำคัญแห่งหนึ่ง
2. หมู่บ้านชาวไทยภูเขา ปางปูเลาะ – ผาแดง เป็นหมู่บ้านชาวไทยภูเขา หมู่ที่ 13, 10 ตำบลศรีถ้อย มีการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมชนเผ่า มีภูมิทัศน์สวยงาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และมีที่พัก(Home stay)สำหรับนักท่องเที่ยวศึกษาวิถีชีวิตชนเผ่า
3. ลานค้าชุมชนสองข้างถนน ตั้งอยู่สองข้างถนนสายพหลโยธินแม่ใจ – เชียงราย ในเขตตำบลศรีถ้อย หมู่ที่ 1,11,7,,9 เป็นร้านค้าชุมชนที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นบ้านและ ผลไม้ตามฤดูกาล
4. อ่างเก็บน้ำห้วยชมภู เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กเป็นลักษณะน้ำซึมน้ำซับมีทิวทัศน์ โดยรอบสวยงาม มีน้ำสำหรับทำการเกษตรตลอดปี ตั้งอยู่ หมู่ 6,8
5. ถ้ำประกายเพชร ตั้งอยู่ บ้านปางปูเลาะ หมู่ที่ 13 ลักษณะถ้ำเป็นหินงอกหินย้อย และมีหยดน้ำลงมาจากเพดานถ้ำ ทำให้เกิดประกายระยิบระยับ ระยะทางจาก หมู่บ้านปางปูเลาะ ถึงถ้ำประกายเพชร รวม 2 กิโลเมตร เส้นทางถนนจากถ้ำสามารถเดินทางไปถึงอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง
6.จุดชมวิวผาแดง ตั้งอยู่ บ้านผาแดง หมู่ที่ 10 ลักษณะเป็นจุดชมวิวหน้าผาที่สวยงามสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของอำเภอแม่ใจและอำเภอใกล้เคียงได้